วันอาทิตย์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

นก

นกเขาเขียวชื่อสามัญ Emerald Doveชื่อวิทยาศาสตร์ Chalcophaps indica
ลักษณะทั่วไป : เป็นนก ในวงศ์นกเขาและนกลุมพู (Columbidae) มีขนาดยาวประมาณ ๒๕ ซม.ลำตัวป้อม หัวเล็กคอและขาสั้น ขนด้านบนลำตัว มีสีเขียวเหลือบ หน้ามีสีม่วงเข้ม เช่นเดียวกับ ด้านล่างลำตัว สะโพกมีสีขาว ๒ แถบ ปากแดง เวลาบินจะสังเกตได้จาก สีเขียวของหลัง และสีน้ำตาลแดงของปีก ตัวผู้ หน้าผากและคิ้วมีสีขาว กระหม่อมและท้ายทอย มีสีน้ำตาล ตัวเมีย มีสีทึมกว่า หน้าผากและคิ้วสีเทา กระหม่อม และท้ายทอยสีน้ำตาลนกเขาเขียว มักพบบินผ่านไปมา ในป่าทึบบ่อยๆ เพราะมีความสามารถ ในการบินหลบหลีก กิ่งไม้ได้ดี ปกติ มักพบเดินหากิน ตามทางเดิน ในป่าที่ร่มครึ้ม บางครั้ง อาจเกาะตามกิ่งไม้เตี้ยๆอาหาร ได้แก่ ผลไม้และเมล็ดพืช ที่หล่นอยู่ตามพื้น รังทำด้วยกิ่งไม้สานกัน อย่างหยาบๆ อยู่ตามพุ่มไม้เตี้ยๆ ใกล้พื้นดิน วางไข่ครั้งละ ๒ ฟอง
นกเขาเขียวเป็นนกประจำถิ่นที่พบได้บ่อยทั่วประเทศ ตามป่าเบญจพรรณและป่าดงดิบ จากที่ราบขึ้นไปจนถึงระดับความสูง ๑.๕๐๐ เมตร นอกจากนี้ยังพบในอินเดีย ทางตอนใต้ของจีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไต้หวัน ฟิลิปปินส์ และหมู่เกาะซุนดาเรื่อยไปจนถึงออสเตรเลีย

แรด


ลักษณะ : แรดจัดเป็นสัตว์จำพวกมีกีบ คือมีเล็บ ๓ เล็บทั้งเท้าหน้าและเท้าหลัง ตัวโตเต็มวัยมีความสูงที่ไหล่ ๑.๖-๑.๘ เมตร น้ำหนักตัว ๑,๕๐๐-๒,๐๐๐ กิโลกรัม แรดมีหนังหนาและมีขนแข็งขึ้นห่างๆ สีพื้นเป็นสีเทาออกดำ ส่วนหลังมีส่วนพับของหนัง ๓ รอย บริเวณหัวไหล่ด้านหลังของขาคู่หน้า และด้านหน้าของขาคู่หลัง แรดตัวผู้มีนอเดียวยาวไม่เกิน ๒๕ เซนติเมตร ส่วนตัวเมียจะเห็นเป็นเพียงปุ่มนูนขึ้นมาอุปนิสัย : ในอดีตเคยพบแรดหากินร่วมเป็นฝูง แต่ในปัจจุบันแรดหากินตัวเดียวโดดๆ หรืออยู่เป็นคู่ในฤดูผสมพันธุ์ อาหารของแรดได้แก่ ยอดไม้ ใบไม้ กิ่งไม้ และผลไม้ที่ร่วงหล่นบนพื้นดิน แรดไม่มีฤดูผสมพันธุ์ที่แน่นอน จึงสามารถผสมพันธุ์ได้ตลอดปี ตกลูกครั้งละ ๑ ตัว ตั้งท่องนานประมาณ ๑๖ เดือนที่อยู่อาศัย: แรดอาศัยอยู่เฉพาะในบริเวณป่าดิบชื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์ หรือตามป่าทึบริมฝั่งทะเล ส่วนใหญ่จะหากินอยู่ตามพื้นที่ราบ ไม่ค่อยขึ้นบนภูเขาสูงเขตแพร่กระจาย : แรดมีเขตกระจายตั้งแต่ประเทศบังคลาเทศ พม่า ไทย ลาว เขมร เวียดนาม ลงไปทางแหลมมลายู สุมาตรา และชวา ปัจจุบันพบน้อยมากจนกล่าวได้ว่า เกือบจะหมดไปจากผืนแผ่นดินใหญ่ของทวีปเอเชียแล้ว เชื่อว่ายังอาจจะมีคงเหลืออยู่บ้างทางเทือกเขาตะนาวศรี และในป่าลึกตามแนวรอยต่อจังหวัดระนอง พังงา และสุราษฎร์ธานีสถานภาพ : ปัจจุบันแรดจัดเป็นสัตว์ป่าสงวนชนิดหนึ่งใน ๑๕ ชนิดของประเทศไทย และจัดอยู่ใน Appendix 1 ของอนุสัญญา CITES ทั้งยังเป็นสัตว์ป่าที่ใกล้จะสูญพันธุ์ตาม U.S.Endanger Species สาเหตุของการใกล้จะสูญพันธุ์ : เช่นเดียวกับแรดที่พบบริเวณอื่นๆ ที่พบในประเทศไทยถูกล่าและทำลายอย่างหนัก เพื่อต้องการนอหรือส่วนอื่นๆ เช่น กระดูก เลือด ฯลฯ ซึ่งมีคุณค่าสูงยิ่ง เพื่อใช้ในการบำรุงและยาอื่นๆ นอกจากนี้บริเวณป่าที่ราบที่แรดชอบอาศัยอยู่ก็หมดไป กลายเป็นบ้านเรือนและเกษตรกรรมจนหมด